“ร่วมสร้าง ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประชากร ภายใต้ทิศทำงการพัฒนาของแผนฯ 13”

“วุฒิอาสาธนาคารสมองร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประชากร ภายใต้ทิศทำงการพัฒนาของแผนฯ 13”

         วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 มูลนิธิพัฒนาไท (มพท.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประชุมเชิงปฏิบัติการ “วุฒิอาสาธนาคารสมองร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประชากร ภายใต้ทิศทำงการพัฒนาของแผนฯ ๑๓” ขับเคลื่อนงานของวุฒิอาสาธนาคารสมองกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย ภาคเหนือตอนบน 1 ภาคเหนือตอนบน 2 และภาคเหนือตอนล่าง 1 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของวุฒิอาสาฯ ภาคเหนือ โดยมีการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นการขับเคลื่อนการพัฒนา แบบบูรณาการของวุฒิอาสาฯ กับภาคีเครือข่าย ในประเด็น 4 เรื่องหลัก ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การพัฒนาระบบ long term Care 2.การส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล 3.ส่งเสริมการจ้างงาน และ 4. ประเด็นอื่น ๆ

          โดยมี นางสาววรวรรณ พลิคามิน เหรัญญิกมูลนิธิพัฒนาไท และรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานการประชุม “วุฒิอาสาธนาคารสมองร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประชากร ภายใต้ทิศทำงการพัฒนาของแผนฯ ๑๓” ภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วยวุฒิอาสาฯ จากจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และลำปาง ภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย วุฒิอาสาฯ จากจังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน พะเยา และ ภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย วุฒิอาสาฯ จากจังหงัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์



ระดมความเห็นต่อกรอบแผนฯ 13

วุฒิอาสาธนาคารสมองกลุ่มภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ระดมความเห็นต่อกรอบแผนฯ 13

         วันที่ 2 มีนาคม 2564 มูลนิธิพัฒนาไท (มพท.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ติดตามการขับเคลื่อนงานของวุฒิอาสาธนาคารสมองกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย ภาคเหนือตอนบน 1 ภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา) และภาคเหนือตอนล่าง 1 (เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรวบรวมผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมของวุฒิอาสาฯ ประกอบการจัดนิทรรศการในการประชุม "20 ปี ธนาคารสมอง” และเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในระหว่างช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2564

          โดยมี นางสาวกัญญารักษ์ ศรีทองรุ่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานการประชุม ติดตามการขับเคลื่อนงานของวุฒิอาสาธนาคารสมองกลุ่ม ภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วยวุฒิอาสาฯ จากจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และลำปาง ภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย วุฒิอาสาฯ จากจังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน พะเยา และ ภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย วุฒิอาสาฯ จากจังหงัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรวบรวมผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมของวุฒิอาสาฯ

         นายวิชญ์พิพล ติวะตันสกุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม นำเสนอ "ร่างกรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13” โดยกำหนดแนวทางและหมุดหมายการพัฒนาให้ตอบสนองกับบริบทการพัฒนาที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 ของยุทธศาสตร์ชาติ สรุปได้ดังนี้

         1. การเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจฐานทรัพยากร ไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและองค์ความรู้ หรือการมุ่งสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง บนพื้นฐานของการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการพัฒนา ต่อยอด และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

          2. การเปลี่ยนผ่านจากสังคมที่มีเพียงบางกลุ่มที่เข้าถึงโอกาสไปสู่สังคมที่มีโอกาสสำหรับทุกคนและทุกพื้นที่ หรือการสร้างสังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาค โดยทุกกลุ่มคนมีโอกาสในการเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเต็มศักยภาพ ได้รับความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ มีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และประเทศมีความเหลื่อมล้ำลดลง ทั้งในเชิงธุรกิจ พื้นที่ รายได้ และความมั่งคั่ง

         3. การเปลี่ยนผ่านจากการผลิตและการบริโภคที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไปสู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความปลอดภัย หรือการเสริมสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืน โดยทุกภาคส่วนในสังคมมีรูปแบบการดำเนินชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสามารถรับมือและมีภูมิคุ้มกันจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

         4. การเปลี่ยนผ่านจากกำลังคนทักษะต่ำและภาครัฐที่ล้าสมัย ไปสู่กำลังคนและภาครัฐที่มีสมรรถนะสูง เพื่อเอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน

         โดยกำหนด "หมุดหมาย” ที่บ่งบอกถึงสิ่งที่ประเทศไทยปรารถนาจะ ‘เป็น’ มุ่งหวังจะ ‘มี’ หรือต้องการจะ ‘ขจัด’ ในช่วงระยะเวลา 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เพื่อให้การขับเคลื่อนเป้าหมายการพลิกโฉมประเทศสู่การเป็น เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน ไปสู่การปฏิบัติมีทิศทางที่ชัดเจนและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จำนวน 13 หมุดหมาย ได้แก่
         (1) ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปมูลค่าสูง
         (2) ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืน
         (3) ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน
         (4) ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง
         (5) ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและจุดยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค
         (6) ไทยเป็นฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและบริการดิจิทัลของอาเซียน
         (7) มุ่งลดความเหลื่อมล้ำระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs
          (8) มุ่งลดความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่
          (9) มุ่งเพิ่มพลวัตการเลื่อนชั้นทางสังคมและลดความเหลื่อมล้ำเชิงรายได้และความมั่งคั่ง
          (10) ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
          (11) ไทยสามารถปรับตัวและลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
          (12) ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต
          (13) ไทยมีภาครัฐที่มีสมรรถนะสูง


              วุฒิอาสาฯ ได้ร่วมกันเสนอแนวทางการพัฒนาฯ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนให้แผนพัฒนาฯ บรรลุผลในระดับพื้นที่ โดยมีกลไกของวุฒิอาสาฯ และภาคีเครือข่ายการพัฒนาเป็นพลังขับเคลื่อนงานสำคัญอย่างต่อเนื่อง