การดำเนินงานตามแผน ของจังหวัดมหาสารคาม

 [ปี 2540]
- เมษายน เริ่มแนะนำแผนงาน โดยมีการประชุมส่วนราชการ หน่วยงาน ภาคเอกชน องค์กรชาวบ้าน
- 9 เมษายน แต่งตั้งคณะทำงานคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายดำเนินโครงการ มีปลัดจังหวัดเป็นประธาน ฝ่ายนโยบายและแผนเป็นฝ่ายเลขาฯ โดยคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ อบต.เขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย และอบต.โคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม
- 28 พฤษภาคม แต่งตั้งคณะทำงานโครงการความร่วมมือไทย-สหประชาชาติระดับ จังหวัดมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า สำนักงานจังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการ
- กรกฎาคม ปฏิบัติงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในครอบครัว ผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่เป้าหมาย โดยคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยการสนับสนุนของ UNICEF จำนวนเงิน 252,650 บาท
-พฤศจิกายน ธันวาคม ประชุมคณะทำงานฯ ติดตามความก้าวหน้าของโครงการฯ


[ปี 2541]
- กุมภาพันธ์ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาแบบองค์รวมโดยมีส่วนร่วมของภาคีในจังหวัด ณ ห้องคอนเวชั่น โรงแรมวสุโฮเต็ล จังหวัดมหาสารคาม เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาตามแนวใหม่ เพื่อเป็นการปรับทิศทางและเป้าหมายในการพัฒนาให้ตรงกัน โดยแผนความร่วมมือฯ สนับสนุนงบประมาณดำเนินการเป็นเงิน 40,000 บาท
- มีนาคม แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการตาม แผนความร่วมมือไทย-สหประชาชาติ จังหวัดมหาสารคาม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ให้คำแนะนำ สนับสนุน กำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนความร่วมมือไทย-สหประชาชาติ จังหวัดมหาสารคาม
- เมษายน แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติการตามแผนความร่วมมือไทย-สหประชาชาติ จังหวัดมหาสารคาม มีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานกรรมการ และฝ่ายนโยบายและแผน สำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่เผยแพร่แนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวม ปรับประเมินความพร้อมและความสนใจ ให้การสนับสนุนด้านวิชาการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน และจัดมีการประชุมวันที่ 13, 22 พฤษภาคม และ 8 มิถุนายน
- 4 สิงหาคม คณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ

1. โครงสร้างองค์กร อำนาจหน้าที่คณะกรรมการอำนวยการ โครงการตามแนวความร่วมมือระดับอำเภอ(นายอำเภอเป็นประธาน พัฒนาการอำเภอเป็นกรรมการและเลขานุการ) คณะกรรมการประสานงานประชาคมตำบล(ปลัดอำเภอผู้ประสานงานประจำตำบล) เป็นประธานปลัด อบต.หรือเลขานุการสภาตำบล เป็นกรรมการและเลขานุการสำหรับประชาคม บุคคลที่จะมาเป็นประชาคมตำบลอ จะไม่มีการกำหนดเป็นโครงสร้าง รูปแบบหรือคำสั่ง แต่ปล่อยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ โดยกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย อาจเป็นหน่วยงานภาคราชการ ท้องถิ่น เอกชน ธุรกิจ กลุ่มอาชีพ นักวิชาการ ประชาชน ร่วมกันริเริ่มหรือเป็นแกนกลาง จัดให้มีการก่อตั้งประชาคมตำบลขึ้นโดยการรวมตัวกันในลักษณะพหุภาคี เพื่อเป็นเวทีร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมพัฒนาในประเด็นลักษณะพหุภาคี เพื่อเป็นเวทีร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมพัฒนาในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ของพื้นที่และชุมชน ซึ่งโดยปกติก็จะเห็นมีการรวมตัวกันในลักษณะดังกล่าวอยู่แล้ว แต่อาจเป็นการรวมตัวกันเพียงหลวม ๆ เป็นครั้งคราว ไม่ต่อเนื่อง
2. แผน ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการตามแผนฯ
3. ระเบียบจังหวัดมหาสารคาม
ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินสนับสนุนดำเนินงานพัฒนาตามแผนความร่วมมือฯ
พ.ศ. 2541
 

- 8-9 กันยายน จัดประชุมชี้แจงคณะกรรมการอำนวยการฯ ระดับอำเภอ คณะกรรมการประสานงานประชาคมตำบล และผู้ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 2 รุ่น ๆ ที่ 1 จำนวน 130 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 117 คน จำนวนเงิน 46,230 บาท
- 15-16 กันยายน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการระดับอำเภอเป็นวิทยากร จำนวน 11 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ รวม 80 คน จำนวนเงิน 65,190 บาท รวมเป็นเงิน 111,420 บาท โดยใช้งบจากกองทุนความร่วมมือไทย-สหประชาชาติ ที่สนับสนุนจำนวน 200,000 บาท งบประมาณที่เหลือได้จัดสรรสนับสนุนอำเภอ กิ่งอำเภอ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายคณะกรรมการประชาตำบล และคณะกรรมการอำนวยการอำเภอ กิ่งอำเภอ และสนับสนุนคณะกรรมการปฏิบัติการระดับจังหวัด นิเทศติดตาม ประเมินผล เป็นเงิน 23,580 บาท
- 28 ตุลาคม จังหวัดแจ้งอำเภอ กิ่งอำเภอ ดำเนิงการตามแผนขั้นตอน

1. แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ ระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ
2. แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานประชาคมตำบล
3. คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย อำเภอ กิ่งอำเภอละ 1 ตำบล รวม 13 ตำบล
4. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน กระบวนการจัดตั้งประชาคมตำบล จัดทำแผนโครงการในภาพรวม รวมทั้งโครงการที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนจากจังหวัด

- 2-4 พฤศจิกายน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการตามแผนความร่วมมือฯ เป็นหัวหน้าคณะเข้าร่วมประชุมสรุปบทเรียนและประสบการณ์การดำเนินงานตามแผนความร่วมมือฯ ที่จังหวัดพะเยา โดยนำเสนอรูปแบบโครงสร้างแนวทางการพัฒนาตำบลน่าอยู่ของประชาคมตำบลดอนหว่าน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และจังหวัดได้นำมาปรับเป็นแนวทางขยายการดำเนินงานประชาคม ตามแผนความร่วมมือฯ

[ปี 2542]
- 9-10 กุมภาพันธ์ ผู้ประสานงานโครงการฯ ส่วนกลาง คณะกรรมการปฏิบัติการฯ ติดตามโครงการที่ประชาคมตำบล ขอรับการสนับสนุนและนิเทศ ช่วยพัฒนากลั่นกรองโครงการในพื้นที่
- 15 มีนาคม ผู้ประสานงานโครงการฯ ส่วนกลาง ผู้แทน สศช.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะกรรมการฯ จังหวัด ประชุมกลั่นกรองพัฒนาโครงการขอรับการสนับสนุนของประชาคมตำบลต่าง ๆ
- 29 เมษายน จังหวัดเสนอโครงการพัฒนาแก้ไขปัญหาของประชาคมตำบล 9 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ จำนวน 8 โครงการ เป็นเงิน 347,040 บาท ไปยังประธานกรรมการบริหารกองทุนความร่วมมือฯ
- 11-13 พฤษภาคม ผู้ประสานงานตามแผนความร่วมมือฯ ส่วนกลาง และคณะกรรมการปฏิบัติการฯ จังหวัด พบปะปรึกษาหารือคณะทำงานระดับอำเภอ และแกนนำประชาคมตำบล
- 8 มิถุนายน มูลนิธิพัฒนาไท แจ้งอนุมัติการโอนเงินงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมชุมชน จำนวน 347,040 บาท
- มิถุนายน หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการฯ ดำเนินการตามแผนและดำเนินการแล้วเสร็จ 2 โครงการ
- 14 ตุลาคม ดำเนินการจัดทำโครงการประชุมทบทวนการปฏิบัติงานรอบ 2 ปี ตามแผนความร่วมมือไทย-สหประชาชาติ จังหวัดมหาสารคาม ณ ห้องประชุมจังหวัดมหาสารคาม