“เวทีทิศทางอนาคตประเทศไทย ครั้งที่ 5 : ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับทิศทางการพัฒนาประชากรในอนาคต”

เมื่อวันศุกร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ มูลนิธิพัฒนาไท (มพท.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิ จและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า หอการค้าไทย และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดประชุม “เวทีทิศทางอนาคตประเทศไทย ครั้งที่ ๕ : ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับทิศทางการพัฒนาประชากรในอนาคต” สื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Meeting โดยนายปรเมธี วิมลศิริ ประธานกรรมการ มพท. เป็นประธานเปิดการประชุม และ นางสาวจินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการ สศช.และเลขาธิการ มพท. กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดเวทีดังกล่าว ได้มีการนำเสนอ "ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับทิศทางการพัฒนาประชากรในอนาคต" โดยนางสาวภัทรพร เล้าวงค์ และ นางสุพัณณดา เลาหชัย สศช.และนำเสนอ “การจัดการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตในชุมชนท้องถิ่น : องค์การบริหารส่วนตาบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่” โดย นายนพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ผ่าน ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๕๘ คน ประกอบด้วย กรรมการ มพท. อาทิ นายพายัพ พยอมยนต์ นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ นายโสภณ สุภาพงษ์ ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและภาคประชาสังคม ...

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร : "ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับทิศทางการพัฒนาประชากรในอนาคต"

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร : "ทิศทางการพัฒนาประชากรในอนาคต(ร่วงแผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว (2565 -2580)

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร : "การบริหารที่ดีของ อบต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่"


“เวทีทิศทางอนาคตประเทศไทย” ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 29 ตุลาคม 2564 “โอกาสและทิศทางอนาคตประเทศไทยจากมุมมองของคนรุ่นใหม่” ผ่านทางระบบ VDO Conference “Cisco Webex”

เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสำคัญ ๕ องค์กร คือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มูลนิธิพัฒนาไท สถาบันพระปกเกล้า (พป.) และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ โดย หอการค้าไทย เป็นเจ้าภาพ ...


“เวทีทิศทางอนาคตประเทศไทย” ครั้งที่ 3/2564 วันอังคารที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๓๐-๑๒.๐๐ น. ประชุมออนไลน์ “ภาพอนาคตการจัดการระบบสุขภาพเขตเมือง : บทเรียนจากวิกฤตโควิด-๑๙ ใน กทม.”

เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสำคัญ ๕ องค์กร คือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มูลนิธิพัฒนาไท สถาบันพระปกเกล้า (พป.) และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ โดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพ ... เพื่อร่วมกันหาแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่อนาคตที่ดีกว่า และเชื่อมโยงการพัฒนาอนาคตประเทศไทย ในเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีภาคีที่ ๖ คือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ของสภาหอการค้า (Young Entrepreneur Chamber of Commerce : YEC) ในภูมิภาคจำนวนมากที่ต้องการเข้าร่วมในเวทีและช่วยกันสร้างหรือพัฒนาความเจริญในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สำหรับเวทีทิศทางประเทศไทยได้จัดไปแล้ว ๒ เวที เวทีแรก “กรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓” โดย สศช. ที่มี ๑๓ หมุดหมายเป็นจุดพลิกผัน ของประเทศไทย และเวทีที่ ๒ “จินตนาการใหม่การกระจายอำนาจ” ของ พป. เป็นการสร้างภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างความเจริญในพื้นที่ที่มีหลากหลายฝ่าย และวันนี้เป็นเวทีที่ ๓ “ภาพอนาคตการจัดการระบบสุขภาพเขตเมือง : บทเรียนจากวิกฤตโควิด-๑๙ ใน กทม.” เป็นการนำเสนอระบบสุขภาพภายใต้สถานการณ์โควิด เกี่ยวกับประเด็นท้าทาย ศักยภาพในการจัดการโรคระบาดในเมืองและชนบท และบทเรียนที่ได้รับจะนำไปสู่การออกแบบและพัฒนารูปแบบระบบสุขภาพเขตเมืองทั้งหมด ทั้งบุคลากรสาธารณสุข เตียง การจัดการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เวทีทิศทางประเทศไทยนี้เป็นเวที Think Do Tank และไม่เป็นทางการ ที่เชิญชวนภาคีที่สนใจหรือเกี่ยวข้อง มาพูดคุยกันอย่างเปิดอกและขับเคลื่อนงานนอกเวทีร่วมกัน รวมทั้งสร้างภาคีการทำงานให้ได้ผลเป็นอย่างดี ด้วยการสร้างพื้นที่ กลไก และเรียนรู้กันในลักษณะที่นำงานที่ทำหรือสิ่งที่ลองไปปฏิบัติมาพูดคุยกันให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และหากมีความจำเป็นก็จะรวบรวมเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบและเห็นทิศทาง การพัฒนาการประเทศในอนาคต


“เวทีทิศทางอนาคตประเทศไทย” ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 19 พฤษภาคม 2564 "ค้นหาจินตนาการใหม่การกระจายอำนาจ" โดยสถาบันพระปกเกล้า เป็นเจ้าภาพประชุมออนไลน์

โดยมีหน่วยงาน พป. สช. มสช. สศช. มพท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการพัฒนาชุมชน หน่วยบริหาร และจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ สนง.กองทุน ส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมัชชา สุขภาพเขตและจังหวัด ... โดย ศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบัน พระปกเกล้า ได้เชิญหน่วยงานในพื้นที่มาเล่าประสบการณ์การทำงานในประเด็น การผลักตันแผนปฏิบัติการ และโครงสร้างในเชิงกฎหมาย ของจังหวัดขอนแก่น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเชิงพื้นที่และการทำงานร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่ และจังหวัดพันธุ์ใหม่ ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) รวมทั้งตัวอย่างการทำงานนอกกรอบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ เลขาธิการ พป. นำเสนอทิศทางการกระจายอำนาจ ใน 6 ประเด็นคือ หนึ่ง การกระจายอำนาจให้ อปท. ที่ดูแลปัญหา และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยประซาชนร่วมคิดร่วมสร้าง และร่วมดำเนินการ และสอง การกระจายอำนาจเชิงพื้นที่ ใน ๒ แนวทาง คือใช้จังหวัดเป็นศูนย์กลางและมีระบบเข้ามารองรับ และใช้ Agenda เป็นประเด็นหลักในการบริหารและพัฒนา โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้พื้นที่สามารถกำหนดนโยบายในการบริหารและพัฒนาพื้นที่ด้วยตนเอง มุ่งเน้นการสร้างกลไกให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการเชื่อมโยงงบประมาณและแผนพัฒนาจังหวัดที่มีการบูรณาการ ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ ในการบริหารจัดการ/แก้ไขปัญหา ให้สอดคล้องกับความต้องการและเร่งด่วนของประชาชนในท้องถิ่น โดยส่วนกลางทำหน้าที่สนับสนุน ให้ข้อเสนอแนะ และกำกับดูแลรวมทั้งมีฐานข้อมูลที่ดีที่สามารถใช้ร่วมกันได้ภายในจังหวัด นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัด ขอนแก่น ได้กล่าวถึงการพัฒนาและขับเคลื่อนจังหวัดขอนแก่น รวมทั้งความสำเร็จของการดำเนินงานที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาการอย่างเหนียวแน่น และมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ อปท. สม่ำเสมอ ประชากร เป็น Smart people ภาคประชาสังคมเข้มแข็ง และ อปท. มีความยืดหยุ่นที่ประชาชนจับต้องได้ และพร้อมรับฟังความเห็น จากประชาชนในพื้นที่ และนายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เล่าถึงการบริหารจัดการในพื้นที่ที่มีบริบท แตกต่างจากพื้นที่อื่น มีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ โดยเทศบาล เป็นองค์กรนำในการดูแลท้องถิ่นของตนเอง และบริหารจัดการ เพื่อชดเชยในส่วนที่ขาดไป รวมทั้ง อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ได้เล่าถึงการทำงานและผลักดันโครงการรถรางเบาขอนแก่น โดยเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการกระจายอำนาจเชิงพื้นที่ของขอนแก่น คือ กระบวนการสานเสวนาของภาคประชาสังคมกับเทศบาล


“เวทีทิศทางอนาคตประเทศไทย” ครั้งที่ 1/2564

“เวทีทิศทางอนาคตประเทศไทย” สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ มูลนิธิพัฒนาไท (มพท.) ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และภาคีเครือข่าย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายและการบริหาร สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ประชุม “เวทีทิศทางอนาคตประเทศไทย” ครั้งที่ 1/2564 ทบทวนกระบวนการและทิศทางการพัฒนาประเทศไทยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ที่นำไปสู่แนวทางการทำงานแบบบูรณาการของชุมชนท้องถิ่นร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ...