วุฒิอาสาธนาคารสมอง ภาคใต้

“วุฒิอาสาธนาคารสมองร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประชากร ภายใต้ทิศทำงการพัฒนาของแผนฯ 13”

         “วุฒิอาสาธนาคารสมองร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประชากร ภายใต้ทิศทำงการพัฒนาของแผนฯ 13” ภาคใต้ วันที่ 24 มีนาคม 2566 มูลนิธิพัฒนาไท ร่วมกับ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประชุมเชิงปฏิบัติการ “วุฒิอาสาธนาคารสมองร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประชากร ภายใต้ทิศทำงการพัฒนาของแผนฯ 13” ภาคใต้ 14 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ปัตตานี นราธิวาส ยะลา โดยมี นางสาววรวรรณ พลิคามิน เหรัญญิกมูลนิธิพัฒนาไท และรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวเปิดการประชุม โดยมีการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นการขับเคลื่อนการพัฒนา แบบบูรณาการของวุฒิอาสาฯ กับภาคีเครือข่าย ในประเด็น 4 เรื่องหลัก ได้แก่ กลุ่มที่ 1 : การสร้างการมีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มที่ 2 : การส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเพิ่มผลิตภาพในภาคการเกษตร กลุ่มที่ 3 : การสร้างงานสร้างอาชีพและการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน กลุ่มที่ 4 : การพัฒนาทักษะแรงงานและเพิ่มรายได้ผู้สูงอายุ ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีวุฒิอาสาฯ เข้าร่วม 90 คน





ประชุมเชิงปฏิบัติการ "รวมพลังวุฒิอาสาธนาคารสมองภาคใต้ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

         มูลนิธิพัฒนาไท ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ "รวมพลังวุฒิอาสาธนาคารสมองภาคใต้ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ระหว่างวันที่ 26–28 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมทวิน โลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในทิศทางการพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการแปลงไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมบทบาทของวุฒิอาสาฯ ในการร่วมพัฒนาประเทศ สร้าง เชื่อมโยงกลไก ขยายเครือข่าย และบูรณาการการทำงานร่วมกันของวุฒิอาสาฯ กับหน่วยงานต่างๆ ในระดับจังหวัดและระดับภาค ตลอดจนระดมความคิดเห็นแนวทางการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ของวุฒิอาสาฯ ระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด โดยมี นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดประชุมและปาฐกถาพิเศษ "การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ด้วยพลังวุฒิอาสาธนาคารสมองและภาคีเครือข่าย” ตามที่เครือข่ายวุฒิอาสาภาคใต้ได้เรียนเชิญ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองประธานมูลนิธิพัฒนาไท นายพายัพ พยอมยนต์ กรรมการมูลนิธิพัฒนาไท นางสาวจินางค์กูร โรจนนันต์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน วุฒิอาสาฯ ภาคใต้และภาคีเครือข่าย วุฒิอาสาฯ ภาคอื่นๆ เจ้าหน้าที่ สศช. และมูลนิธิพัฒนาไท รวมประมาณ 500 คน

          สืบเนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับธนาคารสมอง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2543 ในการนำผู้ที่เกษียณอายุ ที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีจิตอาสา ในนาม "วุฒิอาสาธนาคารสมอง” มาร่วมกันพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 มอบหมายให้ สศช. เป็นหน่วยทะเบียนกลางธนาคารสมอง ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล จัดทำบัญชี ทำเนียบผู้ทรงคุณวุฒิ และประสานและเชื่อมโยงกับเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้วุฒิอาสาฯ ได้นำความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ มาช่วยงานที่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
          รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช. และ มพท. สนับสนุนการทำงานของวุฒิอาสาฯ และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยวุฒิอาสาฯ รวมกลุ่มกันขับเคลื่อนงานเชิงยุทธศาสตร์ผ่านกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่หลากหลายและเป็นรูปธรรม ตามความต้องการของหน่วยงาน ชุมชน และบริบทของแต่ละภูมิสังคม ในทั่วทุกภาคของประเทศ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนาจังหวัด/ชุมชนท้องถิ่น มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) บนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งเป็นการสร้างและขยายเครือข่ายการทำงานร่วมกันของวุฒิอาสาฯกับภาคีเครือข่ายการพัฒนาในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคม และชุมชน ตลอดจนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาท ผลการดำเนินงานของวุฒิอาสาฯ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลงานเป็นรูปธรรมและเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานและชุมชนในพื้นที่
          สำหรับการประชุมในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของวุฒิอาสาฯ ภาคกลาง ขยาย เชื่อมโยง และบูรณาการการขับเคลื่อนงานของวุฒิอาสาฯ กับภาคีการพัฒนาในระดับพื้นที่จนถึงระดับจังหวัดและระดับภาค และการจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนงานของวุฒิอาสาฯ ปี 2564 ที่สอดคล้องกับประเด็นในยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่เน้นการดึงพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น มาร่วมแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง รวมทั้งรวบรวมผลการดำเนินงานของวุฒิอาสาฯ เพื่อนำไปประกอบการจัดงาน "20 ปี ธนาคารสมอง” ต่อไป
          ทั้งนี้ การประชุมใช้เวลา 2 วัน วันแรก เป็นการนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลางและทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ และดัชนีความก้าวหน้าของคนในภาคกลาง เวทีเสวนาเติมเต็มความรู้ให้วุฒิอาสาฯ และภาคีเครือข่าย หัวข้อ "พลังสูงวัยร่วมสร้างชุมชนสู่ความเท่าเทียม” ใน 3 ประเด็น ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระดับพื้นที่ เกษตรกรรมยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม และผู้สูงอายุกับการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน และการระดมความคิดเห็นและนำเสนอแนวทางการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การส่งเสริมอาชีพ รายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) การสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์ 4) การอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม และ 5) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมระหว่างวุฒิอาสาฯ กับภาคีการพัฒนา วันที่สอง เป็นการนำเสนอแนวทางการดำเนินงานแบบบูรณาการระหว่างวุฒิอาสาธนาคารสมองกับภาคีเครือข่าย และสรุปผลการประชุม นอกจากนี้ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการผลการดำเนินงานของวุฒิอาสาธนาคารสมองภาคกลางที่เป็นรูปธรรมรายจังหวัด

      นายถาวร เสนเนียม ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษว่า "ธนาคารสมอง” กำเนิดจากพระวิสัยทัศน์กว้างไกลของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พระราชทานแนวทางการนำศักยภาพผู้สูงอายุมาร่วมเป็นพลังอาสาในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในฐานะ "วุฒิอาสาธนาคารสมอง” ที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ผนวกกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นแนวทางให้พสกนิกรได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ
     วุฒิอาสาฯ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ ทั้งด้านวิชาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประสานงาน สามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนชุมชนได้ เช่น การให้คำแนะนำ ปรึกษา และพัฒนาการปลูกพืช ผัก ผลไม้ออร์แกนิค การจัดตั้งกลุ่มอาชีพและสร้างเครือข่ายให้แกษตรกรในการผลิตและขายสินค้าเกษตรเชิงอนุรักษ์ ปลอดภัยจากสารเคมี การจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้าง ประสาน และเชื่อมโยงเครือข่ายในหลากหลายกลุ่ม/อาชีพ การถ่ายทอดและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของภาคใต้ การสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ/ชุมชน สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติในชุมชน เป็นต้น...
     นอกจากนี้ ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเรื่อง "ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้และทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในจังหวัดชายแดนใต้” เพื่อให้ได้รับทราบสถานการณ์ปัจจุบันและภาพรวมแนวทางการพัฒนาภาคใต้ในอนาคต การเสวนาเรื่อง "พลังสร้างสรรค์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในรูปแบบต่างๆ และการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของวุฒิอาสาฯ การเสวนา "การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาฯ ไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่” ของวุฒิอาสาฯ ภาคใต้ การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น "ขยับคนละก้าว สู่การทำงานแบบบูรณาการระหว่างวุฒิอาสาธนาคารสมอง กับภาคีเครือข่าย” และ "การขับเคลื่อนงานของวุฒิอาสาฯ ในแต่ละจังหวัด ในปี 2563” เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน และการบูรณาการการทำงานร่วมกันของวุฒิอาสา ฯ และภาคีเครือข่าย ในปี 2563 และนำเสนอผลการประชุมระดมความคิดเห็นดังกล่าว รวมทั้งการจัดนิทรรศการผลงานวุฒิอาสาฯ 14 จังหวัดภาคใต้ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของชุมชนที่วุฒิอาสาฯ ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ 3 ชุด ได้แก่ พัสตราบาติก ทอกเพลงบอก และขวัญสตูล